ชื่อโครงการ | เครื่องกายภาพบำบัดข้อเข่าแบบท่านั่ง |
ชื่อผู้ทำโครงงาน | นายพงศธร บุญหลาย ,นายพงศ์ชนินทร์ นาคจรัส ,นายทักษิณ อบรมทรัพย์ และ นายพงษ์ธเนศ แสงโป๋ |
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา | นายประเสริฐ แสงโป๋ (ครูชำนาญการพิเศษ) ,นายสมมาตร์ แก้วจินดา (ครูชำนาญการ) ,นายไพฑูรย์ กาญจนาทองสี(ครูพิเศษ) และ นางสาวอรพรรณ ธารหาญ (นักกายภาพบำบัด) |
สถาบันการศึกษา | วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา |
โครงงานได้รับราวัล | งานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี2557 |
ระดับชั้น | ประกาศนียบัตรวิชาชีพ |
หมวดวิชา | วิศวกรรม |
บทคัดย่อ | เครื่องกายภาพบำบัดข้อเข่าแบบท่านั่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างคือเครื่องต้องสามารถที่จะปรับเปลี่ยนท่านั่งตามสรีระของผู้ป่วยได้ สามารถเลือกการทำงานได้ทั้งข้างซ้ายและข้างขวา และสลับกัน สามารถเลือกที่จะทำงานที่จะเหยียดขาตรงหรืองอเข่า สามารถที่จะเลือกระดับการกายภาพบำบัดได้ จากความคิดเห็นของโรงพยาบาลนั้นจึงนำมาประดิษฐ์เครื่องกายภาพบำบัดข้อเข่าแบบท่านั่ง เครื่องกายภาพบำบัดข้อเข่าแบบท่านั่งนี้ได้สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของ แพทย์ ผู้ป่วยและนักกายภาพบำบัด เพื่อใช้ในการกายภาพบำบัดรักษาผู้ป่วยระยะหลังการผ่าตัดข้อเข่าประมาณ 1 สัปดาห์ โดยประสิทธิภาพของเครื่องเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อเข่าลดการเกิดพังผืดและการยึดติดบริเวณข้อเข่า ทำให้การฟื้นฟูข้อเข่ากับคืนสู่สภาวะปกติได้เร็ว ผลการวิจัยพบว่าเครื่องกายภาพบำบัดข้อเข่าแบบท่านั่งที่สร้างขึ้นสามารถทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องช่วยแบ่งเบาภาระของแพทย์ และนักกายบำบัดซึ่งทำตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในการหาประสิทธิภาพมีค่าของมุมองศาผิดพลาดError เฉลี่ย4.62 องศา/ครั้ง ซึ่งถือว่าไม่เกิน 5 องศาเป็นค่าที่ยอมรับได้ในงานบำบัดรักษา และการจัดทำแบบสอบถามประสิทธิภาพของเครื่องกายภาพบำบัดข้อเข่าแบบท่านั่งผลปรากฏกว่า อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากจึงสามารถนำไปใช้งานได้จริงและยังสามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย |
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน |
1 ม.ค. 2541 |
Download ไฟล์ PDF |
เครื่องกายภาพบำบัดข้อเข่าแบบท่านั่ง